วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

Resume




เลขที่ 53/308 พฤกษา 20 ต.คูคต
อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
E-mail : yayeejar@hotmail.com
โทรศัพท์มือถือ (08)5230-7728



จุดมุ่งหมายในงาน
ต้องการใช้ความรู้ทางด้านการเงิน ในการบริหารจัดการการเงินของบริษัท เพื่อให้มีเสถียรภาพทางการเงินและมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและการบริหารประเทศในยุคใหม่
ประวัติการศึกษา
2549-2551 ปริญญาตรี สาขาการเงินและการธนาคาร
มหาวิทยาลัยศรีปทุม เกรดเฉลี่ย 2.86
2547-2549 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาบัญชี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก เกรดเฉลี่ย 3.36
2544-2547 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาบัญชี
โรงเรียนเทคนิคพณิชยการพิษณุโลก เกรดเฉลี่ย 3.18
ประวัติส่วนตัว
วัน/เดือน/ปีเกิด: 28 กุมภาพันธ์ 2528 เพศหญิง
สถานภาพ: โสด สุขภาพดี
น้ำหนัก:45 กก. ส่วนสูง 152
งานอดิเรก
อ่านหนังสือ, ดูหนัง, ฟังเพลง, Internet
ทักษะและความสามารถพิเศษ
- สามารถพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้
- สามารถใช้โปรแกรม Microsoft word, Excel, Powerpoint
- สามารถพิมพ์ดีด ภาษาไทย ภาษาอังกฤษได้

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551

การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ

1. วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ (System Development Life Cycle)
การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ โดยทั่วไป จะดำเนินตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ใน System Development Life Cycle (SDLC) แต่เนื่องจาก SDLC มีอยู่ด้วยกันหลายแนวทาง ดังนั้น จำนวนและรายละเอียดของขั้นตอนต่างๆ จึงแตกต่างกันไปตามแนวทางของ SDLC ที่จะเลือกใช้ ขั้นตอนของ SDLC ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.1 Feasibility Study เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินต้นทุนของทางเลือกต่างๆ ในการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ เพื่อพิจารณาเลือกในการพัฒนาระบบงานสารสนเทศที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด
1.2 Requirement Collection and Analysis ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการเก็บรวบรวมความต้องการต่างๆ จากผู้ใช้ (User’s Requirement) มาวิเคราะห์ เพื่อจำแนกถึงปัญหาและความต้องการออกเป็นกลุ่ม ซึ่งจะใช้กำหนดขอบเขตให้กับระบบงานสารสนเทศที่จะพัฒนาขึ้น
1.3 Design ในขั้นตอนนี้ นักพัฒนาระบบงานสารสนเทศจะนำเอาปัญหาและความต้องการทางด้านต่างๆ มาใช้ในการออกแบบระบบงานสารสนเทศ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การออกแบบในส่วนของโปรแกรม (Application Design) และการออกแบบในส่วนของฐานข้อมูล (Database Design) โดยที่การออกแบบใน 2 ส่วนนี้จะทำพร้อมกัน
1.4 Prototyping ในขั้นตอนนี้ ส่วนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ จะถูกนำมาพัฒนาต้นแบบของระบบงาน (Prototype) ซึ่งในปัจจุบัน จะมี Tool จำนวนมากที่ช่วยในการพัฒนา เพื่อนำต้นแบบนี้ไปใช้ตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน ก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็สามารถนำไปเป็นข้อมูลสำหรับขั้นตอน Requirement Collection and Analysis ได้ใหม่
1.5 Implementation เป็นขั้นตอนที่นำเอาระบบงานสารสนเทศที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยบไปทดลองใช้งาน
1.6 Validation และ Testing เป็นขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องของระบบงานสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น
1.7 Operation เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งแน่ใจแล้วว่า ระบบงานสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง จึงเริ่มนำข้อมูลต่างๆ มาใช้งานจริง

สำหรับทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ สามารถแสดงด้วยแผนภาพได้ ดังรูป



การทำงานในแต่ละขั้นตอนขอการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ จะไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่ผลของการทำงานในขั้นตอนหนึ่ง สามารถส่งผลต่อการทำงานในขั้นตอนที่ผ่านมาได้

2. วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Life Cycle)
วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Life Cycle) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า DBLC เป็นขั้นตอนที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขึ้นใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
2.1 Database Initial Study เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขึ้นใช้งาน ในขั้นตอนนี้ จะต้องวิเคราะห์ความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย ปัญหา ขอบเขต และกฎระเบียบต่างๆ ของระบบฐานข้อมูลที่จะพัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบฐานข้อมูลในขึ้นตอนต่อไป
2.2 Database Design ในขั้นตอนนี้ จะนำเอารายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนแรก มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบฐานข้อมูลขึ้นใช้งาน สำหรับแนวทางที่นิยมใช้ในการออกแบบฐานข้อมูลได้แก่ แนวทางแบบ Data-driven และแนวทางแบบ Joint data and Function-driven
2.3 Implementation and Loading ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นำเอาโครงร่างต่างๆ ของระบบฐานข้อมูลที่ได้จากการออกแบบในขั้นตอน Database Design มาสร้างตัวฐานข้อมูลที่จะใช้เก็บข้อมูลจริง รวมทั้งทำการแปลงข้อมูลของระบบงานเดิม ให้สามารถนำมาใช้งานในระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นใหม่ ในกรณีที่ระบบเดิมมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล
2.4 Testing and Evaluation เป็นขั้นตอนของการทดสอบระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น เพื่อหาข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งทำการประเมินความสามารถของระบบฐานข้อมูลนั้น เพื่อนำไปใช้เป็นแวทางในการปรับปรุงให้ระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และครบถ้วน
2.5 Operation เป็นขั้นตอนที่นำเอาระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปใช้งานจริง
2.6 Maintenance and Evolution เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานระบบฐานข้อมูลจริง เพื่อบำรุงรักษาให้ระบบฐานข้อมูลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นขั้นตอนของการแก้ไข และปรับปรุงระบบฐานข้อมูล ในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบฐานข้อมูล

ซึ่งทั้ง 6 ขั้นตอนนี้ สามารถแสดงด้วยแผนภาพได้ดังนี้


การทำงานในขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูลตามวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบฐาน ข้อมูลนี้ จะมีลักษณะเช่นเดียวกับวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ คือ รายละเอียดที่ได้จากแต่ละขั้นตอนการออกพัฒนาระบบฐานข้อมูล สามารถสะท้อนกลับไปยังการทำงานในขั้นตอนก่อนหน้า ซึ่งจะช่วยปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาดในการออกแบบของขั้นตอนที่ผ่านมาได้อย่างดี

3 ความต้องการของผู้ใช้ (User’s Requirement)
ขั้นตอนในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ โดยปกติจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องแบ่งความต้องการของผู้ใช้ออกเป็น 2 กลุ่ม
3.1 ความต้องการทางด้านโปรแกรม (Application Requirement) ได้แก่ความต้องการของผู้ใช้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบงาน ทั้งเป็นของระบบงานปัจจุบัน และของระบบงานสารสนเทศที่ต้องการพัฒนาขึ้น เช่น ขั้นตอนการทำงานของระบบงานปัจจุบัน รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนของการทำงาน ความสามารถ ที่ผู้ใช้ต้องการให้ปรากฏอยู่ในแต่ละขั้นตอนการทำงานของระบบงานใหม่ ฯลฯ
3.2 ความต้องการทางด้านข้อมูล (Data Requirement) ได้แก่ ความต้องการของผู้ใช้ด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูลของระบบงาน ซึ่งจะแฝงอยู่ในรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานต่างๆ เช่น ขั้นตอนในการจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน จะใช้สลิปเงินเดือนเพื่อแจ้งรายได้ให้แก่พนักงานแต่ละคนทราบ ซึ่งภายในสลิปเงินเดือน ประกอบด้วย รหัสพนักงาน ซื่อสกุล เดือน ประเภทรายได้ จำนวนเงินตามแต่ละประเภทรายได้ จำนวนเงินประกันสังคมที่หัก จำนวนเงินภาษีที่หัก ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งความต้องการทางด้านข้อมูลของตัวอย่างนี้ ก็คือรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสลิปเงินเดือน

4. Data-driven Approach
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ขั้นตอนการออกแบบระบบงานสารสนเทศของ SDLC จะแบ่งการออกแบบเป็น 2 ส่วน คือ การออแบบในส่วนของโปรแกรม และการออกแบบในส่วนของฐานข้อมูล ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้จะอยู่หลายแนวทางด้วยกัน ที่สามารถนำมาใช้กำหนดขั้นตอนและวิธีการในการออกแบบได้ แต่สำหรับแนวทางหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล ได้แก่ แนวทาง Data-driven ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้ความสำคัญกับตัวข้อมูลมากกว่าตัวโปรแกรม คือ ทำการออกแบบตัวข้อมูลจนมีความสมบูรณ์ก่อนที่จะทำการออกแบบตัวโปรแกรมเป็นลำดับต่อไป ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
4.1 Conceptual Design เป็นขั้นตอนที่นำเอาความต้องการทางด้านข้อมูล (Data Requirement) มาวิเคราะห์ และใช้ออกแบบฐานข้อมูล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายโครงสร้างหลักๆ ของฐานข้อมูล โดยไม่สนใจว่าจะใช้โครงสร้างข้อมูล หน่วยสำรองข้อมูล และตัว DBMS ใด
4.2 Logical Design ขั้นตอนนี้จะนำเอา Conceptual Schema มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกกำหนดโดย Database Model ที่เลือกใช้ ซึ่งอาจเป็น Hierarchical, Relational, Object-Oriented หรือ Network Model โดยไม่สนใจตัว DBMS ใด
4.3 Physical Design ขั้นตอนนี้จะนำเอา Logical Schema มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกกำหนดโดย DBMS ซึ่งจะกำหนดถึงโครงสร้างในการจัดเก็บ และวิธีในการเข้าถึงข้อมูล

ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ สามารถแสดงด้วยแผนภาพได้ดังนี้


5 Function-Driven Approach
เป็นแนวทางหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการออกแบบส่วนของโปรแกรม (Application Design) ซึ่งเป็นแนวทางที่ต่างจากแนวทางแบบ Data-Driven คือ แนวทางแบบ Function-Driven จะให้ความสำคัญกับตัวโปรแกรมมากกว่าตัวข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
5.1 Function Analysis เป็นการนำเอาความต้องการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดถึงขั้นตอนการทำงานและข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ ได้แก่ Function Schema ซึ่งจะอธิบายถึงขั้นตอนการประมวลผล และการไหลของข้อมูลระหว่างแต่ละขั้นตอนการประมวลผลนั้น
5.2 High-level Application Design เป็นการนำเอา Function Schema มาเขียนให้อยู่ในรูปของ Application Specification ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมของแต่ละฟังก์ชันการทำงาน รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลของแต่ละฟังก์ชันการทำงานนั้น
5.3 Application Program Design จะเป็นการนำเอา Application Specification มาขยายความ เพื่อกำหนดรายละเอียดในรูปของโปรแกรม ซึ่งจะนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อไป

ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ สามารถแสดงด้วยแผนภาพได้ดังรูป

6. Joint data- and Function – driven Approach
การทำงานแบบ Function –driven และ Data –driven จะมีความแตกต่างกัน แต่ในแง่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อนำทั้ง 2 แนวทางนี้ไปใช้ในการออกแบบระบบงานสารสนเทศ ทั้ง 2 แนวทางกลับมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และสามารถทำงานไปพร้อมๆ กันได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ออกแบบสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนของทั้ง 2 แนวทาง มาใช้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน คือ สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลว่ามีความครบถ้วนตามความต้องการที่แต่ละฟังก์ชันการทำงานต้องการหรือไม่ และในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ข้อมูลตรวจสอบว่า ฟังก์ชั่นการทำงานที่ออกแบบมีจำนวนครบถ้วนตามข้อมูลหรือไม่ได้เช่นเดียวกัน สำหรับการนำเอาทั้ง 2 แนวทาง มาใช้ร่วมกันในการออกแบบระบบสารสนเทศ จะเรียกแนวทางนี้ว่า แนวทางแบบ Joint Data- and Function-driven ซึ่งสามารถแสดงด้วยภาพได้ดังนี้

7. Data Model และ Functional Model
ในการนำเสนอผลที่ได้จากการออกแบบทั้งแนวทางแบบ Function-driven และ Data-driven จะใช้แบบจำลองในการนำเสนอเช่นเดียวกัน เนื่องจากแบบจำลองเป็นเครื่องมือใช้รูปภาพและคำอธิบายต่างๆ เพื่อใช้แสดงข้อเท็จจริงของข้อมูล รวมทั้งการกระทำต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลนั้นๆ ในระดับแนวความคิดรูปภาพที่ใช้แทนข้อมูล
สำหรับแบบจำลองที่ใช้แนวทางของ Function-driven จะเรียกว่า “Functional Model” จะเป็นแบบจำลองแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และฟังก์ชันการทำง่านต่างๆ ภายในระบบ สำหรับแบบจำลองที่ใช้แนวทางของ Data-driven จะเรียกว่า “Data Model” จะเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในระบบ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ
1.8 Abstraction ที่ใช้ใน Data Model
Abstraction เป็นกระบวนการทางความคิดในการอธิบายถึงคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราให้ความสนใจ เช่น เมื่อเรากล่าวถึงจักรยานในแนวคิดของ Abstraction เราจะมองจักรยานในแง่ของคุณลักษณะเฉพาะของจักรยานว่าประกอบไปด้วย โซ่ เบรค อาน บันไดถีบ ฯลฯ
Abstraction ที่ใช้ใน Data Model มี 3 ประเภท คือ Classification, Aggregation และ Generalization
1.8.1 Classification Abstraction
เป็นการจัดกลุ่มของสิ่งที่สนใจตามคุณสมบัติที่มีร่วมกัน ซึ่งกลุ่มที่จัดขึ้นนี้จะเรียกว่า Class เช่น Class "เดือน" จะประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้แก่เดือนต่างๆ ในรอบปี เช่น "มกราคม" "กุมภาพันธ์" " มีนาคม"...."ธันวาคม" หรือ Class "ชื่อพนักงาน" จะประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ชื่อของพนักงานภายในบริษัท เช่น "สมบัติ" "ชาญวิทย์" "จำลอง" เป็นต้น
1.8.2 Aggregation Abstraction
เป็นการจัด Class ขึ้นใหม่จาก Class เดิม โดยที่ Class เดิม จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของ Class ใหม่ เช่น Class "พนักงาน" เป็น Class ใหม่ที่เกิดจาก Class เดิม ดังนี้
- Class "ชือพนักงาน" ประกอบด้วย "สมบัติ" "ชาญวิทย์" "จำลอง"
- Class "เพศ" ประกอบด้วย "ชาย" "หญิง"
- Class "ตำแหน่ง" ประกอบด้วย "ผู้จัดการ" "พนักงานธุรการ" "เจ้าหน้าที่เทคนิค"
1.8.3 Generalizatioon Abstraction
เป็นการนำเอา Class ที่มีความสัมพันธ์กันมาจัดเป็นกลุ่มของ Class ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเรียก Class ที่จัดขึ้นใหม่นี้ว่า "Superset" ส่วน "Class" เดิมที่นำมารวมกันจะเรียกว่า "Subset" เช่น Class "รถยนต์" เกิดจาก Class "รถบรรทุก" "รถเก๋ง "รถแทรคเตอร์" มารวมกัน หรือ Class "พนักงาน" เกิดจาก Class "พนักงานชาย" หรือ "พนักงานหญิง"
1.9 ประเภทของความสัมพันธ์ภายใต้ Abstraction แบบ Aggregation
ความสัมพันธ์ระหว่าง Minimal และ Maximal Cardinality นี้สามารถนำมาจัด Abstraction แบบ Aggregation ออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. One-to-One สมาชิกของ Class "B" และ "C" จะมีความสัมพันธ์กันภายใต้ Abstraction แบบ Aggregation "A" ในแบบ One-to-One ได้ก็ต่อเมื่อ Max-Card (B,A) และ max-card(C,A) มีค่าเท่ากับ 1
2. One-to-Many สมาชิกของ Class "B" และ "C" จะมีความสัมพันธ์กันภายใต้ Abstraction แบบ Aggregation "A" ในแบบ One-to-Many ได้ก็ต่อเมื่อ max-card(B,A) มีค่าเท่ากับ n และ max-card(C,A) มีค่าเท่ากับ 1
3. Many-to-One สมาชิกของ Class "B" และ "C" จะมีความสัมพันธ์กันภายใต้ Abstraction แบบ Aggregation "A" ในแบบ Many-to-One ได้ก็ต่อเมื่อ max-card(B,A) มีค่าเท่ากับ 1 และ max-card(C,A) มีค่าเท่ากับ n
4. Many-to-Many สมาชิกของ Class "B" และ "C" จะมีความสัมพันธ์กันภายใต้ Abstraction แบบ Aggregation "A" ในแบบ Many-to-Many ได้ก็ต่อเมื่อ Max-card(B,A) มีค่าเท่ากับ m และ max-card(C,A) มีค่าเท่ากับ n (สำหรับการกำหนดให้เป็นค่า m ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า Maximal Cardinality ของ Class "B" และ "C" ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนที่เท่ากัน)



วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเงิน

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในกระบวนการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการจัดการ ด้านบัญชี หรือด้านการเงิน ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร ตลอดจนสามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สามารถแข่งขัน และอยู่รอดได้ อย่างไรก็ตาม บทความในส่วนนี้จะขออธิบายถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สำหรับการบริหารการเงิน โดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel เป็นหลักเท่านั้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ อะไร
คำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” นั้น เกิดจากการนำคำ 2 คำมารวมกัน คือ คำว่า “เทคโนโลยี (Technology)” ซึ่งหมายถึง การนำเอาความรู้ทางวิชาการ และด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และคำว่า “สารสนเทศ (Information)” ซึ่งหมายถึง ข้อมูล (Data) ที่ผ่านการประมวลผล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความหมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับการสร้าง จดบันทึก จัดเก็บ ประมวลผล และสื่อสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว รวมถึงความถูกต้อง และความแม่นยำ สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั่นเอง

ทำไมกิจการต้องมีการบริหารการเงิน (Financial Management)
ตามปกติแล้ว กิจการต้องการเงินทุน (Capital) จำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในสำหรับการลงทุนดำเนินธุรกิจ และขยายกิจการ โดยเงินทุนที่จัดหามานั้น แน่นอนว่า ควรมาจากแหล่งเงินทุนซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด หรือประหยัดสุด (Economy) หลังจากที่ได้เงินมาแล้ว ผู้ประกอบการก็ต้องดำเนินการจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่นั้นในสินทรัพย์ให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) อันจะนำมาซึ่งรายได้ และการเจริญเติบโตของกิจการต่อไป นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องมีการวิเคราะห์ พยากรณ์ และวางแผนทางการเงินในอนาคตเพื่อให้มั่นใจว่า มีเงินทุนพอเพียงในการดำเนินงาน และทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการเงินน้อยที่สุดอีกด้วย
จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นองค์ประกอบของการบริหารการเงินซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคนควรทราบแต่เนื่องจากการเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเป็นจำนวนมากทำให้ต้องใช้เวลาในการคำนวณ อีกทั้งยังต้องการความละเอียดถูกต้องสูงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับการบริหารการเงินนั้นจึงถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการเงิน และลดความผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นได้

การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน
สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงินได้นั้น อาจพัฒนาขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานด้วยตนเอง หรืออาจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีก็เป็นได้ ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม และถูกนำมาใช้กับการบริหารการเงินอย่างแพร่หลาย ก็คือ โปรแกรม Microsoft Excel นั่นเอง
โปรแกรม Microsoft Excel นั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน ทั้งในด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน การหามูลค่าของเงินตามเวลา การพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ทั้งนี้ก็เพราะ Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษคำนวณ (Spread Sheet) ซึ่งช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นพิเศษทางการเงินซึ่งเรียกว่า "Financial Function" ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณหาข้อมูลทางการเงินประเภทต่างๆ อีกด้วย



ก่อนที่จะนำโปรแกรม Microsoft Excel มาใช้ในการบริหารการเงิน เราควรต้องรู้จักกับหลักการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน (Arithmetic Formula) ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันเสียก่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- เมื่อเปิดโปรแกรม Excel จะเห็นช่องสี่เหลี่ยมสีขาวแต่ละช่องที่ว่างอยู่เป็นจำนวนมากในหน้ากระดาษทำการ (Worksheet) ซึ่งเรียกกันสั้นๆ ว่า “Cell” โดยเราสามารถเขียนสูตรการคำนวณขึ้นจากการกรอกข้อมูลโดยตรงลงไปในแต่ละ Cell หรือจะสั่งให้ไปเอาข้อมูลที่อ้างอิงจาก Cell อื่นๆ มาใช้ในการคำนวณก็ย่อมได้
-ทุกครั้งที่จะเริ่มต้นเขียนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ในแต่ละ Cell ที่ต้องการ ต้องพิมพ์เครื่องหมาย “=” นำหน้าเสมอ หลังจากนั้นถึงจะตามด้วยข้อมูล รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น =2+3
-การเขียนสูตรเพื่อการคำนวณในแต่ละ Cell ต้องไม่มีการเว้นวรรคแต่อย่างใด โดยให้เขียนติดกันต่อเนื่องไปเลย และเมื่อเขียนสูตรใน Cell ที่ต้องการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้กดปุ่ม Enter เพื่อที่โปรแกรม Excel จะได้ดำเนินการประมวลผลลัพธ์ให้ตามที่ต้องการโดยอัตโนมัติ
-หากมีการคำนวณซ้อนเกิดขึ้น ก็สามารถที่จะใช้เครื่องหมายวงเล็บสำหรับการจัดกลุ่มข้อมูล โดยเครื่องหมายวงเล็บทั้งเปิด และปิดที่ถูกนำมาใช้นั้น ต้องเป็นวงเล็บในลักษณะ “โค้งปกติ” เท่านั้น เช่น =(2+3)*(4/2)
-สามารถกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการใช้ในการคำนวณได้จากการ High Light ข้อมูล โดยเริ่มต้นจากการคลิ๊กเม้าส์แล้วกดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างเอาไว้ ต่อจากนั้นก็ให้ลากเม้าส์ไปครอบคลุมยัง Cell ต่างๆ ที่ต้องการ หรืออาจทำได้โดยการพิมพ์ชื่อ Cell แรก แล้วขั้นด้วยเครื่องหมายโคลอน “:” ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยการพิมพ์ชื่อ Cell สุดท้ายก็ได้ เช่น =SUM(A1:A3)
-สำหรับสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานของโปรแกรม Microsoft Excel ที่ควรรู้จัก มีดังนี้




การจัดทำรายงานทางการเงิน (Preparation of Financial Statement)
เมื่อรู้จักกับหลักการคำนวณ และสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานกันแล้ว ก็สามารถนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน อันได้แก่ งบดุล และงบกำไรขาดทุน เป็นต้น โดยทำการป้อนข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ และตัวเลขลงในแต่ละ Cell ของกระดาษทำการ แล้วทำการเชื่อมโยงตลอดจนกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นมาช่วยในการคำนวณหาผลลัพธ์ที่ต้องการนั่นเอง

ตัวอย่างงบดุล (Balance Sheet):


จากตัวอย่างงบดุลข้างต้น เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูล ตลอดจนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้



ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน (Income Statement):




จากตัวอย่างงบกำไรขาดทุนข้างต้น เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการป้อนข้อมูล ตลอดจนการใช้สูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้


หมายเหตุ: จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่าย และชำระแล้วของกิจการเท่ากับ 20,000 หุ้น

นอกเหนือจากการที่เราสามารถนำหลักการคำนวณ และสูตรทางคณิตศาสตร์พื้นฐานมาใช้เพื่อจัดทำรายงานทางการเงิน อันได้แก่ งบดุล และงบกำไรขาดทุนกันแล้ว ยังสามารถนำมาหลักเกณฑ์เดียวกันมาใช้สำหรับการวิเคราะห์งบการเงินได้อีกด้วย

การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis)
โปรแกรม Microsoft Excel ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการ ว่ามีฐานะเป็นอย่างไร มีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์งบการเงินแบบย่อขนาด (Common Size Analysis) รวมถึงการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)ได้ ทั้งนี้สำหรับการวิเคราะห์งบแบบย่อขนาด ถ้าเป็นงบดุล จะกำหนดให้สินทรัพย์รวมเป็นตัวฐานในการเปรียบเทียบ โดยให้มีค่าเท่ากับ 100% แล้วจึงทำการเปรียบเทียบข้อมูลทุกรายการในงบดุลว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของสินทรัพย์รวม ถ้าเป็นงบกำไรขาดทุนจะกำหนดให้ยอดขายเป็นตัวฐาน แล้วทำการเปรียบเทียบข้อมูลทุกรายการในงบกำไรขาดทุนว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดของยอดขาย ดังตัวอย่างที่แสดงไว้ต่อไปนี้

ตัวอย่างการวิเคราะห์งบดุลแบบย่อขนาด:

ตัวอย่างการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนแบบย่อขนาด:

สำหรับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน จะเป็นการนำเอารายการทางบัญชีที่ปรากฎอยู่ในงบการเงินซึ่งมีความเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กันมาพิจารณาในรูปแบบของอัตราส่วน โดยสามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นอัตราส่วนที่สำคัญ 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

1. อัตราส่วนสำหรับวิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ (Liquidity Ratio)

a. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/ หนี้สินหมุนเวียน

b. อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงคลัง)/ หนี้สินหมุนเวียน

2. อัตราส่วนสำหรับวัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Efficiency Ratio)

a. อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า = ยอดขาย/ ลูกหนี้การค้า

b. ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย = จำนวนวันต่อ 1 ปี/ อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า

c. อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง = ต้นทุนขาย/ สินค้าคงคลัง

d. ระยะเวลาเฉลี่ยของสินค้าในคลัง = จำนวนวันต่อ 1 ปี/ อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง

e. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร = ยอดขาย/ สินทรัพย์ถาวร

f. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม = ยอดขาย/ สินทรัพย์รวม

3. อัตราส่วนสำหรับวัดความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio)

a. อัตราส่วนหนี้สิน = (หนี้สินรวม/ สินทรัพย์รวม) *100

b. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ = หนี้สินรวม/ ส่วนของเจ้าของรวม

c. อัตราส่วนกำไรต่อดอกเบี้ยจ่าย = กำไรจากการดำเนินงาน/ ดอกเบี้ยจ่าย

4. อัตราส่วนสำหรับวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)

a. อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น/ ยอดขาย) * 100

b. อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน = (กำไรจากการดำเนินงาน/ ยอดขาย) * 100

c. อัตราส่วนกำไรสุทธิ = (กำไรสุทธิ/ ยอดขาย) * 100

d. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = (กำไรสุทธิ/ สินทรัพย์รวม) * 100

e. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ = (กำไรสุทธิ/ ส่วนของเจ้าของ) * 100


ตัวอย่างการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน: 1 ปี = 360 วัน








วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

นาฬิกากับเวลา

เวลา... เดินไปข้างหน้า
นาฬิกา.. เดินอยู่ที่เก่า
เวลา.. เราไม่อาจย้อนกลับ
นาฬิกา.. เราหมุนย้อนมันได้
เวลา.. เมื่อสูญเสียไปแล้วไม่อาจเรียกร้องคืน
นาฬิกา.. เสียก็ซ่อม หรือซื้อใหม่ไปเลย
เวลา.. ได้มาฟรีๆ ไม่ต้องแลกกะอะไร
นาฬิกา.. ยิ่งสวยยิ่งแพง ใช้เงินซื้อมันมาทั้งนั้น